นายมณฑล ภาคสุวรรณ์

สช.เผยแพร่ คู่มือแนวทางการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ได้เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยที่เกิดปัญหาขึ้นกับเด็ก และเยาวชนในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายสาเหตุเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตจนเกิดภัยต่างๆ ขึ้นในเด็ก และเยาวชนไทยในหลายรูปแบบ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ซึ่งน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยกับนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน การจัดการกับระบบความปลอดภัยของสถานศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับความสุขในการเรียนรู้ และการมีชีวิตที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองให้มีความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม ป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอื่นๆ

โดยได้นำนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษา สู่ Platform MOE Safety Center ที่เป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานศึกษา สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามมาตรการ 3 ป ของรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ได้แก่ “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม”

สช.เผยแพร่ คู่มือแนวทางการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน

นายมณฑลกล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงได้เผยแพร่คู่มือแนวทางการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนเอกชน โดยปรับปรุงเนื้อหาให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้โรงเรียนเอกชนใช้เป็นแนวทางในการจัดทำมาตรการส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา ให้สามารถดำเนินการคุ้มครอง และช่วยเหลือนักเรียนให้มีความปลอดภัยจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม และช่วยเหลือคุ้มครองนักเรียนได้อย่างเหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ โดยหวังว่าคู่มือเล่มนี้ จะเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติให้กับผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียนเอกชนให้สามารถดำเนินการคุ้มครอง และช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือฯ ดังกล่าวได้ที่ https://opec.go.th/news/detail/913 หรือศึกษาเนื้อหาได้ในรูปแบบ E-Book : https://publuu.com/flip-book/101820/283738

“ถึงแม้ว่าช่วงนี้นักเรียนจะไม่ได้มาโรงเรียน แต่ผมอยากจะเน้นย้ำในเรื่องของความปลอดภัย เพราะในช่วงปิดเทอมถือได้ว่าเป็นช่วงอันตรายของเด็กอย่างมาก ที่ผ่านมาพบว่าในแต่ละปี มีเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ สาเหตุจากการจมน้ำ โดยผู้ปกครองต้องสอดส่องดูแลการเล่นน้ำ หรือการไปเล่นใกล้ๆ แหล่งน้ำ รวมทั้งช่วงหน้าร้อนก็ต้องระวังภาวะฮีทสโตรก ภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยนอกจากนี้ ยังมีทั้งเรื่องของเด็กหาย เด็กติดเกม ยาเสพติด และอีกมากมาย ซึ่งสิ่งเดียวที่จะช่วยได้คือครอบครัว ต้องดูแลเอาใจใส่ให้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ สช. ได้เผยแพร่เนื้อหาเตือนภัยในรูปแบบต่างๆ ทาง facebook Panpage เพื่อช่วยสร้างความตระหนักเกี่ยวกับในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงปิดเทอม เพื่อช่วยกระตุ้นเตือนผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองในการร่วมป้องกันภัยในช่วงปิดเทอมอีกทางหนึ่งด้วย” นายมณฑลกล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ world-of-wedding-favours.com

แทงบอล

Releated